บุก ประโยชน์และสรรพคุณของบุก

บุก ประโยชน์และสรรพคุณของบุก 

บุก (Stanley’s Water-tub) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหัว-เหง้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียก มันซูรัน ส่วนภาคเหนือกับภาคกลาง (บางแห่ง) เรียก บุกคางคก ส่วนแถวแม่ฮ่องสอนเรียก บุกหลวง, บุกหนาม, เบือ, เบีย รวมทั้งชลบุรีเรียก บุกคุงคก ตลอดจนปัตตานีเรียก หัวบุก เป็นต้น โดยบุกนั้นมีสายพันธุ์จากทั่วโลกอยู่ประมาณ 50 ชนิด แต่ที่นิยมนำมาใช้นั้นกลับมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ด้วยความที่บุกนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่มีทั้งประโยชน์และโทษแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ โดยคนไทยเรารู้จักและใช้ประโยชน์จากต้นบุกนี้มาช้านานแล้ว โดยเฉพาะนิยมนำมาเป็นส่วนผสมในขนมต่างๆ ได้แก่ วุ้นผสมบุก, วุ้นเส้นบุก และในขนมหวานต่างๆ อีกมากมายเลยทีเดียว

ลักษณะทั่วไปของบุก
สำหรับต้นบุกนั้นจัดเป็นไม้ล้มลุกที่สามารถพบได้แทบทุกภาคของประเทศไทยเรา โดยเฉพาะบริเวณชายป่าหรือพื้นดินที่ทำนา ซึ่งมีอายุได้หลายปี โดยมีลำต้นขึ้นมาจากหัวใต้ดินที่มีขนาดใหญ่ทรงกลมแป้นที่เรียกกันว่าหัวบุก โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 50 – 150 เซนติเมตร ซึ่งบริเวณลำต้นและกิ่งก้านจะกลมและใหญ่ ส่วนใบนั้นจะเป็นใบประกอบแบบเดียวกับขนนกรูปทรงไข่ ขอบเรียบ ปลายแหลม โดยมีใบย่อยออกแบบเรียงสลับกันอยู่ ส่วนดอกนั้นจะคล้ายกับดอกของต้นหน้าวัว ส่วนผลบุกนั้นจะมีสีขาวแกมเหลือง และจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวพร้อมกับจุดดำตรงปลายเหมือนกล้วย และต้นบุกนี้สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท

ประโยชน์และสรรพคุณของบุก
หัวบุก – ช่วยแก้ภาวะเลือดจับตัวเป็นก้อน กัดเสมหะ กัดเถาดาน รวมทั้งใช้หุงกับน้ำมันนำมาทากัดฝ้าบาดแผล มักนำบุกรอมาทำยา ส่วนบุกคางคกไม่นิยมใช้เพราะคันมาก และมีการนำบุกเนื้อทรายมาทำเป็นอาหาร ให้รสเบื่อคัน

นอกจากนี้ แม้ว่าบุกนั้นจะมีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะสรรพคุณที่หลายๆ คนนำมารับประทานเพื่อลดความอ้วนกัน เพราะบุกนั้นมีคุณสมบัติช่วยดูดซับน้ำและทำให้เรารู้สึกอิ่มเร็ว ไม่หิวในระหว่างวัน จึงทำให้การกินจุบกินจิบน้อยลงและไม่อ้วนนั่นเอง แต่ก่อนจะนำมารับประทานกันนั้นต้องนำมากำจัดพิษและผ่านความร้อนเสมอ ไม่ควรรับประทานแบบสดๆ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ และควรรับประทานแต่พอดี เพราะหากทานเข้าไปมากๆ นอกจากจะทำให้รู้สึกกระหายน้ำแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดการแพ้ขึ้นได้




บุก ประโยชน์และสรรพคุณของบุก บุก ประโยชน์และสรรพคุณของบุก Reviewed by Ps nackisaiah on พฤษภาคม 02, 2562 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

รูปภาพธีมโดย -ASI-. ขับเคลื่อนโดย Blogger.